หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559

"การใช้สื่อการสอนประเภทฉาย" Utilization of projected media



 " เทคโนโลยีการศึกษาแห่งอนาคต "

 เทคโนโลยีการศึกษาแห่งอนาคต


ภาพประกอบ : เครื่องวิชวลไลเซอร์
* สื่อประเภทเครื่องฉาย

          เครื่องฉายเป็นอุปกรณ์ที่ถ่ายทอดภาพจากวัสดุฉาย เช่น ฟิล์มภาพยนตร์ ฟิล์มสไลด์ภาพ ทึบแสงและภาพโปร่งแสง ตลอดจนวัสดุสามมิติ ให้ปรากฏบนจอภาพเพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน 
                
         จุดประสงค์สำคัญของการฉาย คือ การเสนอภาพให้ใหญ่เห็นได้ชัดเจน ทั้งที่อยู่ในลักษณะของภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว










* เครื่องฉายที่ใช้ในการเรียนการสอน 
อาจแบ่งเป็นประเภท ตามลักษณะของภาพ ได้ดังนี้

1.) เครื่องฉายภาพนิ่ง ได้แก่
เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป 
เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายวัสดุทึบแสง
2.) เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว ได้แก่
เครื่องฉายภาพยนตร์
3.) เครื่องฉายภาพอเนกประสงค์ ได้แก่
เครื่องวิชวลไลเซอร์
ภาพประกอบ : เครื่องวิชวลไลเซอร์


***ในที่นี้นะครับ ขอนำเสนอสื่อประเภทเครื่องฉาย คือ เครื่องวิชวลไลเซอร์ เพราะเป็นเครื่องฉายที่มีการใช้งานจริงและแพร่หลากมาก แต่บางคนก็ยังใช้งานไม่เป็นไม่ถนัด โดยเฉพาะนักเรียน-นักศึกษาหลายๆคนที่ต้องการนำเสนอผลงาน แต่มีอุปสรรคตรงที่ใช้งานเครื่องวิชวลไลเซอร์ไม่ถนัดเอาสะเลย O_o วันนี้ครับ เราจะมาทำความรู้จัก ทำความเข้าใจหลักการทำงาน ส่วนประกอบสำคัญต่างๆ และวิธีใช้งานของเจ้าเครื่องวิชวลไลเซอร์กันครับ ^_^ ***

ภาพประกอบ : เครื่องวิชวลไลเซอร์ใช้ในการประชุม



* วิชวลไลเซอร์ Visualizer
          วิชวลไลเซอร์ (Visualizer) หรือเครื่องฉายภาพสามมิติ เป็นอุปกรณ์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาชนิดหนึ่ง ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณและส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์เครื่องฉาย  หรือแสดงผลอื่นๆอีกครั้งหนึ่ง เช่น โปรเจ็คเตอร์ จอมอนิเตอร์ เพื่อนำเสนอสื่อการเรียนการสอนหรือการประชุมสัมมนา สามารถนำภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว 
โดยมีหลักการทำงานคล้ายกับกล้องวิดีโอ เพราะใช้กล้องวิดีโอเป็นตัวจับภาพมีตัวรับสัญญาณภาพ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ CMOS และ CCD เซลล์รับแสง 2 ชนิดนี้ จะทําหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงโฟตอน (Photon) เป็นพลังงานไฟฟ้า
- CCD ย่อมาจาก Charge Coupled Device จะทําหน้าที่รับแสงและเปลี่ยนค่าแสงเป็นสัญญาณอนาล็อก และแปลงเป็นดิจิทัลอีกครั้งโดยผ่านวงจรแปลงสัญญาณ ส่วน 
- CMOS ย่อมาจาก Complementary Metal Oxide Semiconductor มีลักษณะการทํางานโดยแต่ละพิกเซลจะมีวงจรย่อยๆ เปลี่ยนค่าแสงเป็นสัญญาณดิจิทัลจากนั้นจะส่งสัญญาณต่อไปยังอุปกรณ์รับภาพ

ภาพประกอบ : Sensor CCD และ CMOS
           หลักการทำงาน คือ การแปลงสัญญาณภาพเป็นสัญญาณไฟฟ้า โดยใช้กล้องเป็นตัวจับสัญญาณภาพ สามารถนำเสนอวัสดุทึบแสง ภาพถ่าย วัสดุกราฟิก วัสดุสามมิติ วัสดุโปร่งใส วัสดุประเภทฟิล์ม ภาพเคลื่อนไหวและไฟล์ภาพนิ่ง  เครื่องวิชวลไลเซอร์มีรายละเอียดที่ผู้ศึกษาควรทราบเพื่อการใช้งานได้อย่างถูกต้องมีรายละเอียดดังนี้
ภาพประกอบ : การใช้งานเครื่องวิชวลไลเซอร์
               




* ส่วนประกอบของเครื่องวิชวลไลเซอร์     

    คลิปวีดีโอส่วนประกอบและการใช้งานเครื่องวิชวลไลเซอร์    

1.) แท่นวางวัตถุ เป็นส่วนประกอบหลักของเครื่องวิชวลไลเซอร์ผลิตด้วยวัสดุพลาสติกสีขาวหรือดำ สามารถให้แสงส่องผ่านจากด้านในผ่านวัสดุประเภทฟิล์ม เครื่องวิชวลไลเซอร์บางรุ่นไม่มีแท่นวางวัตถุ แต่จะใช้พื้นโต๊ะหรือพื้นผิวที่ว่างวางเครื่องวิชวลไลเซอร์แทนแท่นวาง    
                                       
2.) แผงควบคุมเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องวิชวลไลเซอร์ในการควบคุมกล้องวิดีโอ ปรับความคมชัด เลือกลักษณะสัญญาณที่ต้องการนำออก ประกอบไปด้วยปุ่มสำคัญในการทำงานบนแผงควบคุมได้แก่
2.1 ปุ่มปรับขนาดภาพ tele หรือ wide
2.2 ปุ่มโฟกัสอัตโนมัติ
2.3 ปุ่มเลือกแหล่งที่มาของภาพ เช่น Camera Computer 
2.4 ปุ่ม Base เพื่อให้แสดงที่แท่นฉายขึ้นมา
2.5 ปุ่ม Positive และ Negative  

3.) ไฟส่องวัตถุ เครื่องวิชวลไลเซอร์จะมีไฟส่องวัตถุเพื่อความคมชัดของสัญญาณภาพ เครื่องวิชวลไลเซอร์รุ่นใหม่ไฟส่องสว่างวัตถุจะผลิตด้วยหลอด LED ส่วนรุ่นแรกๆจะเป็นหลอดฟลูออเรสเชนต์                                       
4.) แขนกล้อง ทำหน้าที่ยึดกล้องหลักกับแท่น  เครื่องวิชวลไลเซอร์สามารถปรับขนาดเพื่อทำการจัดเก็บและปรับมุมมองของกล้องได้ 
5.) กล้องหลัก ทำหน้าที่จับภาพวัตถุที่วางบนแท่นวางวัตถุและส่งสัญญาณภาพออกไปยังอุปกรณ์นำเสนอ กล้องหลักมีความละเอียดในการใช้งานเป็น pixel ในกรณีเป็นระบบดิจิทอล    
6.) สวิตช์ปิด-เปิด ทำหน้าที่ปิด-เปิด เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับ 
เครื่องวิชวลไลเซอร์         
7.) ช่องต่อสัญญาณ  เป็นส่วนประกอบที่ทำหน้าที่รับ-ส่งสัญญาณให้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา  เช่น  ช่อง S – video   
RGB  Composite    

ภาพประกอบ : ส่วนประกอบสำคัญและการทำงานของเครื่องวิชวลไลเซอร์




* การใช้งานเครื่องวิชวลไลเซอร์

 
คลิปวีดิโอสอนการใช้งานเครื่องวิชวลไลเซอร์


* อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับเครื่องวิชวลไลเซอร์

             อุปกรณ์ที่แสดงภาพร่วมกับ
             เครื่องวิชวลไลเซอร์ ได้แก่

              1.) จอมอนิเตอร์

ภาพประกอบ : จอแสดงผลหรือจอมอนิเตอร์





 
2.) เครื่องฉายภาพ  
LCD หรือ DLP  





* ข้อดี-ข้อจำกัดของเครื่องวิชวลไลเซอร์

" ข้อดี "

 1.) ใช้นำเสนอวัสดุได้ทุกประเภท

 2.) นำเสนอภาพจากแหล่งภาพอื่น เช่น คอมพิวเตอร์ วีดีทัศน์ ฯลฯ

 3.) ใช้เป็นกล้องโทรทัศน์วงจรปิด เพื่อนำเสนอภาพภายในห้องเรียนได้

 4.) ใช้นำเสนอภาพที่เล็กให้ขยายใหญ่ได้


" ข้อจำกัด "

 1.) การติดตั้งต้องใช้กับเครื่องฉายภาพ

 2.) การติดตั้งต้องอาศัยความระมัดระวัง
 3.) ต้องอาศัยความคุ้นเคยในการใช้อุปกรณ์ 
โดยต้องศึกษาการเปิด-ปิด เครื่องและใช้แผงควบคุมการทำงาน
 4.) มีราคาแพง


*** ขอขอบคุณข้อมูลจาก ***
 
***ขอขอบคุณ***
***สอนวิธีการสร้าง Blogger***


หนังสือเรียนรายวิชา “การใช้สื่อการเรียนรู้ Utilization of learning media
เรียบเรียงโดย : รองศาสตราจารย์ตวงแสง  ณ นคร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศยามน  อินสะอาด
ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา   คณะศึกษาศาสตร์   มหาวิทยาลัยรามคำแหง